02-019-7296 | 081-595-3011 | 095-748-7312

Chemical Test

คาร์บอนไดออกไซด์/คาร์บอนมอนอกไซด์

Carbon Dioxide / Carbon Monoxide

ฟอร์มาบดีไฮด์

Formaldehyde

สารระเหยอินทรีย์

VOCs

สารระเหยอินทรีย์ (VOCs) เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยเป็นไอได้ง่าย กระจายตัวไปในอากาศได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักของสาร ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และมีองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ออกซิเจน ฟลูออไรด์ คลอไรด์ โบรไมด์ ซัลเฟอร์ และไนโตรเจน

VOCs ในบรรยากาศจัดเป็นอากาศพิษ (Toxic Air) ซึ่งในชีวิตประจำวันเราได้รับสารชนิดนี้จากผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น สีทาบ้าน ควันบุหรี่ น้ำยาฟอกสี สารตัวทำละลายในการพิมพ์ อู่พ่นสีรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม น้ำยาซักแห้ง น้ำยาสำหรับย้อมผมและดัดผม สารกำจัดศัตรูพืช และอาจปนเปื้อนในอากาศ น้ำดื่ม อาหาร และเครื่องดื่ม หากร่างกายได้รับจะทำให้เกิดอาการทางประสาทหลายอย่าง เช่น การง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ซึมเศร้า หรือหมดสติได้

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

PM2.5, PM10

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากเมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดฝุ่นละออง: Aerosol Monitor เป็นเครื่องวัดฝุ่นอ่านผลแบบทันที (Real-Time Dust Monitoring) ใช้ตรวจวัดและรายงานผลค่าปริมาณฝุ่น Particle Size PM1.0, PM 4, PM2.5, PM10

ค่าแนะนำของปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคาร:

– PM10 (Particulate Matter with diameter less than 10 micrometers) < 50 µg/m3

– PM2.5 (Particulate Matter with diameter less than 2.5 micrometers) < 35 µg/m3

รายละเอียดบริการ

ในช่วงที่คุณภาพอากาศมีฝุ่นหรือมลพิษเกินค่ามาตราฐาน นอกจากการใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถกันฝุ่นได้เมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง ทางหน่วยงานราชการยังแนะนำให้อยู่ภายในบ้านหรือตัวอาคารให้มากที่สุด โดยไม่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคารนั้น อาจจะป้องกันเราจากฝุ่นและมลพิษภายนอกได้ส่วนหนึ่ง เพราะลักษณะการก่อสร้างของอาคารส่วนใหญ่จะเป็นแบบปิดทึบ ลมภายนอกผ่านเข้า-ออกได้ยาก แต่จากลักษณะของสภาพอากาศอาจทำให้มีความชื้นภายในอาคารเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดการขยายตัวของ แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อโรคต่างๆที่อยู่ในอากาศ  บ่อยครั้งที่ผู้อยู่อาศัยอาจรู้สึกไม่สบายตัว จากอากาศที่ไม่หมุนเวียน และไม่ถ่ายเท จนถึงขั้นป่วยเป็น Sick Building Syndrome เช่น มึนหัวหรือปวดหัว,อาการระคายเคืองผิวหนังหรือตา, หายใจไม่สะดวก ไอ หรือ จาม ซึ่งเป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคารมากกว่านอกอาคาร เราจึงควรให้ความสนใจเรื่องคุณภาพอาคารภายในอาคารมากขึ้น เพราะคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality : IAQ) ส่งผลต่อสุขภาพของคนที่อาศัยอยู่ภายในอาคารเป็นอย่างมาก

การทดสอบคุณภาพอากาศในอาคาร (Indoor Air Quality) คือ การตรวจวัดปริมาณของละอองและก๊าซ อุณหภูมิ และความชื้นของอากาศที่อยู่ภายในอาคาร ในกรณีที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ คุณภาพของอากาศจะกำหนดจากความสามารถในการรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ในกรณีที่เป็นกระบวนการผลิต คุณภาพของอากาศจะกำหนดจากความสามารถในการผลิตสินค้าคุณภาพสูงภายในอาคารนั้นได้อย่างคุ้มค่า

มาตราฐานที่ใช้อ้างอิงการทดสอบ

  • กรมอนามัย
  • ASHARE


วัตถุประสงค์การตรวจสอบคุณภาพอากาศ

มีความประสงค์ที่จะตรวจสอบคุณภาพอากาศ (Cleanroom Performance Testing, CPT) ในห้องสะอาด (Cleanroom) ห้องความดันลบ (Negative Pressure Room) และห้องแยกโรคติดเชื้อทางอากาศ (Airborne Inflection Isolation Room) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบปรับอากาศภายในห้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตรงตามมาตรฐาน โดยระบบต่างๆของห้องจะต้องเสร็จสมบูรณ์ และมีการปรับแต่ง สมดุลของระบบ (Testing, Adjusting and Balancing, TAB) ให้ได้ตามฟังค์ชั่น ก่อนการทดสอบคุณภาพอากาศ สิ่งที่ต้องตรวจวัด จะต้องดำเนินการทดสอบและตรวจวัดตามหัวข้อดังนี้

  • การทดสอบอัตราการไหลของอากาศ (Airflow Volume Test) เพื่อหาอัตราการหมุนเวียนอากาศ (Air Change Rate)
  • การทดสอบรอยรั่วของแผ่นกรองอากาศ (Filter Installation Leak Test)
  • การทดสอบความดันห้อง (Room Pressurization Test)
  • การทดสอบระดับความสะอาดของห้อง (Airborne Particle Count Test)
  • การทดสอบอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Temperature and Relative Humidity Test)
  • การทดสอบเชื้อแบคทีเรียรวม (Total Viable Bacterial Count) และ เชื้อรารวม (Total Viable Mould Count)
  • การทดสอบระดับความเข้มแสงภายในห้อง (Lighting Level Test)
  • การทดสอบระดับความดังเสียงภายในห้อง (Sound Level Test)
  • การทดสอบเวลาการกลับคืนมาสู่ระดับความสะอาดของห้อง (Room Recovery Test)
  • การทดสอบอัตรารั่วไหลของอากาศในท่อ (Duct Leakage Test)
  • การทดสอบอัตรารั่วไหลของห้อง (Room Air Leakage Test)

มาตราฐาน ใบรับรองที่บริษัทได้รับ

มาตราฐาน
ใบรับรองที่บริษัทได้รับ

ISO 9001: 2015

NEBB Cleanroom
Performance Testing (CPT)

NEBB Testing & Adjust
and Balancing (TAB)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า