02-019-7296 | 081-595-3011 | 095-748-7312

10 รายการสำคัญ สำหรับ IAQ : การตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร

10 รายการสำคัญ สำหรับตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ)

 

อากาศที่เราหายใจ… สะอาดแค่ไหน ? 

รู้หรือไม่ว่าเราใช้เวลามากกว่า 80% ของชีวิตอยู่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือในโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และที่อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นคุณภาพอากาศในอาคารจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอากาศที่เราหายใจเข้าไปมีผลต่อสุขภาพและสมรรถภาพในการทำงานของเรา หากมีคุณภาพของอากาศที่ดีจะช่วยให้ผู้ใช้งานอาคารรู้สึกสบายตัว มีสุขภาพดี และมีประสิทธิภาพในการทำงาน และถ้าหากมีคุณภาพอากาศที่ไม่ดีจะส่งผลเสียแก่ร่างกายมากมายจนก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากมลภาวะภายในอาคาร เช่น โรคจากอาคาร (Building Related Illness : BRI) โรคตึกเป็นพิษ (Sick Building Syndrome : SBS) โรคภูมิแพ้ / สารก่อภูมิแพ้ (Allergy)  หรือโรคหืด (Asthma) เป็นต้น 

 

Indoor Air Quality หรือ IAQ คือ คุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีปริมาณบ่งชี้คุณภาพอากาศซึ่งประกอบไปด้วยค่าความเข้มข้นของก๊าซต่าง ๆ รวมถึงอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และการเคลื่อนที่ของอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขอนามัย ความรู้สึกสบาย และประสิทธิภาพในการทำงานของมนุษย์ โดยคุณภาพอากาศที่ดีเกิดจากการมีสัดส่วนของค่าต่าง ๆ ที่เหมาะสมและอยู่ในค่าที่ยอมรับได้ ( Acceptable value) คือ ค่าเฉลี่ยของพารามิเตอร์ทางด้านสุขภาพอากาศภายในอาคารที่ผู้ใช้อาคารจะได้รับโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้อาคารนั่นเอง

เพราะฉะนั้นการการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร หรือการตรวจวัดปริมาณของฝุ่นละออง ก๊าซ อุณหภูมิ และความชื้นของอากาศที่อยู่ภายในอาคารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ วางแผนในการควบคุมและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขคุณภาพอากาศภายในอาคารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของคนที่อาศัยอยู่ภายในอาคารเป็นอย่างมาก  

โดยการตรวจสอบ Indoor Air Quality เป็นการทดสอบค่าพารามิเตอร์ของคุณภาพอากาศต่าง ๆ รวมทั้งหมด 10 รายการสำคัญที่ต้องตรวจวัด ซึ่งครอบคลุมการทดสอบทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่

  • การทดสอบสภาวะน่าสบาย (Thermal Comfort Test)
  • การทดสอบทางเคมี (Chemical Test)
  • การทดสอบทางชีวภาพ (Biological Test)

 

การทดสอบสภาวะความสบาย (Thermal Comfort Test)

 

1. การไหลของอากาศ (Airflow)

การทดสอบการเคลื่อนที่ของอากาศ (Air Movement/Airflow Direction) เพื่อประเมินรูปแบบการไหลเวียนของอากาศภายในอาคาร และการตรวจวัดอัตราการไหลของอากาศให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า 0.30 เมตรต่อวินาที (m/s) รวมถึงตรวจสอบในบริเวณที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของอากาศเพื่อบ่งบอกว่าบริเวณดังกล่าวอาจมีมลพิษหรือสารเคมีสะสมอยู่ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ระบบปรับอากาศ HVAC และพัดลมต่าง ๆ โดยนิยมใช้วิธีตรวจวัดด้วยเครื่องวัดความเร็วลม (Hot-Wire Anemometer) เครื่องวัดอัตราการไหลของอากาศ (Air Capture Hood) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า

2. อุณหภูมิ (Temperature)

การตรวจวัดค่าอุณหภูมิภายในอาคารเพื่อประเมินและควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร โดยเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับอุณหภูมิจะอยู่ที่ 23 – 26 องศาเซลเซียส (°C) ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ไม่สูงและต่ำจนเกินไป เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารรู้สึกสบาย และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยการใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดความเร็วลมแบบลวดร้อน (Hot-Wire Anemometer) เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบแกว่ง (Sling Thermometer) เป็นต้น

3. ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)

การตรวจวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ภายในอาคารที่เหมาะสมต่อความสบายของผู้อยู่อาศัย รวมถึงการควบคุมความชื้นและการระบายอากาศให้มีระบบไหลเวียนที่ดี เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย โดยค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมควรจะน้อยกว่า 65 %RH สำหรับอาคารใหม่ และน้อยกว่า 70 %RH สำหรับอาคารเก่า ด้วยการตรวจวัดอย่างเช่น เซนเซอร์วัดความชื้น (Thin Film Capacitor) เครื่องวัดความชื้นในอากาศ (Hygrometer) เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เทอร์โมมิเตอร์แบบแกว่ง (Sling Thermometer) หรือเครื่องวัดอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์แบบกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง (Wet and Dry Bulb) เป็นต้น

 

การทดสอบทางเคมี (Chemical Test)

 

4. คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide : CO2)

การตรวจวัดระดับค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide : CO2) ในอากาศ ซึ่งเป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจออกของสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างอยู่ภายในอาคาร ซึ่งถ้าหากมีค่าเกินเกณฑ์ที่กำหนดสามารถบ่งชี้ได้ว่ามีการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ และสามารถเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้งานอาคารได้จากระดับความเข้มข้นสูงของค่า COอาจทำให้เกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดแบบฉับพลัน (Hypercapnia) ขึ้นได้ โดยเกณฑ์ที่เหมาะสมของค่าคาร์บอนไดออกไซด์ควรอยู่ในระดับที่ไม่เกินกว่า 1,000 ppm โดยการตรวจวัดแบบเบื้องต้นด้วยโมดูลเซ็นเซอร์วัดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ประเภท Non-Dispersive Infrared (NDIR) เครื่องมือทางเคมีไฟฟ้า (Electrochemical Oxidation) หรือ Photoacoustic Spectroscopy (PAS) และวิธีอื่นที่เทียบเท่า

5. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide : CO)

การตรวจวัดค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide : CO) หรือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ เชื้อเพลิงจากการหุงต้ม หรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งหากได้รับก๊าซ CO ในระดับความเข้มข้นสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน และทำลายสมองจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเกณฑ์ที่ปลอดภัยควรจะอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 9 ppm โดยการตรวจวัดแบบเบื้องต้นด้วยวิธี Real-Time Electrochemical Sensor หรือถ้าหากมีค่าเกินเกณฑ์ควรตรวจวัดเชิงลึกด้วย EPA IP-3A Detaminaion of Carbon Dioxide in Indoor Air Using Non-Dispersive Infra-red (NDIR) เป็นต้น

6. ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)

การตรวจวัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde, HCHO) ในอากาศ ซึ่งเป็นสารเคมีที่อยู่ในวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ภายในอาคาร โดยปกติแล้วจะมีอยู่ในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งไม่ควรมีค่าเกิน 0.08 ppm หรือไม่เกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m³) เพราะสารพิษนี้อาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ โดยสามารถตรวจวัดด้วยวิธี Real-Time Electrochemical Sensor หรือหากมีค่าเกินกำหนดควรตรวจวัดเชิงลึกด้วยการเก็บตัวอย่างโดย 2,4-dinitrophenylhydrazine (DNPH) และวิเคราะห์ด้วย High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า

7. สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)

การตรวจสอบสารมลพิษอันตรายอย่าง “สารอินทรีย์ระเหยง่าย” (Volatile Organic Compounds : VOCs) ที่สามารถกระจายตัวไปในอากาศได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ โดยการระเหยขึ้นสู่บรรยากาศจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ควันบุหรี่ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์สำนักงาน หรือวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น และเมื่อร่างกายได้รับสาร VOCs จะทำให้เกิดอาการอย่าง ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติได้ ส่วนปริมาณของสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ยอมรับได้ไม่ควรเกิน 1,000 ppb โดยตรวจสอบด้วยวิธี Real-Time Photoionization Detector หรือการตรวจวัดเชิงลึกโดยการแยกตามชนิดของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจำนวน 12 ชนิด ด้วย Gas Chromatography/ Mass Spectrometry (GC/MS) หรือวิธีอื่นที่เทียบเท่า 

8. ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 / PM10

การตรวจสอบฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศ โดยการกำหนดค่าพารามิเตอร์ของฝุ่นละออง 2 ชนิด ได้แก่ PM2.5 (ฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน) และ PM10 (ฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน) ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดปริมาณของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคารอยู่ที่

  • PM2.5 : ปริมาณไม่เกิน 25 µg/m3 (ค่าเฉลี่ย 24 ชม.)
  • PM10 : ปริมาณไม่เกิน 50 µg/m3 (ค่าเฉลี่ย 24 ชม.)

ด้วยการใช้เครื่องมือตรวจวัดฝุ่นละอองอย่าง Aerosol Monitor หรือเครื่องวัดฝุ่นอ่านผลแบบทันที (Real-Time Dust Monitoring) ซึ่งใช้สำหรับตรวจวัดและรายงานผลค่าปริมาณฝุ่น Particle Size PM1.0, PM 4, PM2.5 และ PM10 นั่นเอง

 

การทดสอบทางชีวภาพ (Biological Test)

 

9. เชื้อแบคทีเรีย (Total Bacteria count : TBC)

การทดสอบปริมาณเชื้อแบคทีเรียรวม (Total Viable Bacterial Count) หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่กระจัดกระจายอยู่ในอากาศ ซึ่งแบคทีเรียจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีแหล่งน้ำขัง เช่น ถาดรองน้ำในเครื่อง AHU เป็นต้น ดังนั้นจึงควรตรวจสอบและควบคุมปริมาณของแบคทีเรียไม่ให้เกินค่า 500 (CFU/m3) ที่อ้างอิงตามผู้ออกแบบหรือมาตรฐานสากลต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือในการตรวจวัดที่ออกแบบมาสำหรับการเก็บตัวอย่างทางชีวภาพอย่าง Impactor ด้วยการเก็บตัวอย่างที่ใช้อัตราการไหลที่ 28.3 L/min (1 ft3/min) เป็นเวลา 4 นาที หรือเทียบเท่าปริมาตรของอากาศอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้อย่าง Tryptone Soya Agar (TSA) ที่อุณหภูมิ 35 °C เป็นเวลา 48 ชม. เป็นต้น

10. เชื้อรา (Total Fungal Count : TFC)

การทดสอบปริมาณเชื้อรารวม (Total Viable Mould Count) ที่เป็นตัวทำลายพื้นผิวในบริเวณที่เชื้อราเกาะอยู่ รวมถึงยังสามารถส่งกลิ่นเหม็นอับได้ โดยเฉพาะในพื้นที่อาคารที่มีความชื้นสูงซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เพราะฉะนั้นจึงต้องควบคุมปริมาณของเชื้อรารวมไม่ให้เกิน 500 (CFU/m3) ด้วยการใช้ Impactor ในการตรวจวัดเพื่อเก็บตัวอย่างทางชีวภาพในอัตราการไหลที่ 28.3 L/min (1 ft3/min) เป็นเวลา 4 นาที หรือเทียบเท่าปริมาตรของอากาศอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้คือ 2% Malt Extract Agar ที่อุณหภูมิ 25 °C เป็นเวลา 3-5 วัน เป็นต้น

 

Q&E INTERNATIONAL รับตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ)

Q&E INTERNATIONAL รับตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ)

เพราะอากาศเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของอาคารต้องใส่ใจ จึงต้องมีการตรวจสอบ แก้ไข และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality) ไม่ว่าจะเป็นการการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ) ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ HVAC หรือหมั่นรักษาความสะอาดภายในอาคารอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดกระทบที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคารนั่นเอง 

Q&E INTERNATIONAL” ผู้ให้บริการทดสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ) ด้วยการตรวจวัดรายการสำคัญต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นอย่างครบถ้วน เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคาร ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการทดสอบจากกรมอนามัยและมาตรฐาน ASHRAE ในระดับสากล 

สามารถดูรายละเอียดของบริการทดสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ) ได้ ที่นี่

ติดต่อเรา Q&E INTERNATIONAL ได้ที่ช่องทาง

Call: 081-595-3011, 095-748-7312

LINE ID: 0815953011

Facebook: บริษัท คิว แอนด์ อี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 

Email: [email protected], [email protected]

Share :

ข่าวสารที่น่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า