02-019-7296 | 081-595-3011 | 095-748-7312

เปิดที่มาของมลพิษทางอากาศ PM2.5 เพราะเหตุใดถึงไม่ลดลงและเกิดขึ้นซ้ำทุกปี

เปิดที่มาของมลพิษทางอากาศ PM2.5 เพราะเหตุใดถึงไม่ลดลงและเกิดขึ้นซ้ำทุกปี

 

PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือมาจากชื่อเต็มที่ว่า Particulate Matter with diameter of less than 2.5 micron หนึ่งในการวัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ด้วยขนาดที่เล็กมากของฝุ่น PM 2.5 จึงทำให้มันสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายทางจมูกจนเข้าถึงชั้นในสุดของปอดได้อย่างง่ายดาย หากสะสมเข้าไปในร่างกายเป็นเวลานานเจ้ามลพิษทางอากาศชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด หรืออวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกายจนเกิดอันตรายหรือเป็นพาหะนำเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อมนุษย์ได้อีกด้วย

ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยต่างประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศฝุ่น PM 2.5 อย่างรุนแรงจนถือได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นซ้ำทุกปีและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูหนาวตลอดจนถึงต้นฤดูร้อน จนทำให้ค่าฝุ่นหรือค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI : Air Quality Index) พุ่งสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในประเทศไทย โดยข้อมูลทางสถิติจาก State of Global Air และ Greenpeace ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่าในไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 มากถึงหลักหมื่นคน หรืออุทาหรณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมาจากข่าวการเสียชีวิตของ “คุณหมอกฤตไท ธนสมบัติกุล” นายแพทย์หนุ่มอนาคตไกลที่ต้องจบชีวิตลงด้วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม โดย ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งของคุณหมอด้วยเช่นเดียวกัน

เหตุนี้เองจึงได้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่าทำไมปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังไม่หายไปและเกิดขึ้นซ้ำทุก ๆ ปีโดยที่ไม่สามารถแก้ไขหรือจัดการให้หมดสิ้นไปสักที เพราะฉะนั้นเราจึงได้รวบรวมสาเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในประเทศไทย รวมถึงประเด็นที่ว่าทำไมปัญหานี้ยังเกิดขึ้นซ้ำและไม่ลดลงสักที พร้อมทั้งแนวทางที่จะช่วยกันลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งภาคครัวเรือนและภาคองค์กรไปด้วยกัน

 

แหล่งที่มาของฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย

แหล่งที่มาของฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย

โดยปกติแล้วฝุ่น PM 2.5 มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน จึงทำให้เกิดบริเวณที่มีความกดอากาศสูงและเกิดการผกผันกลับของอุณหภูมิ (Inversion) ในระดับล่าง ปกติแล้วเมื่อกระแสลมสงบนิ่งมลพิษทางอากาศจะถูกสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ หากมีลมร้อนเริ่มพัดฝุ่นเหล่านี้จะลอยสูงขึ้นและจางหายไป แต่เมื่อเกิดความกดอากาศสูงจนระดับเพดานการลอยตัวและการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำประกอบกับสภาวะอากาศที่นิ่งสงบ จึงทำให้การไหลเวียนและถ่ายเทของอากาศไม่ดีจนเกิดการสะสมของฝุ่นละอองหรือหมอกควันในอากาศเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนนั่นเอง 

ซึ่งต้นตอการเกิดมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยมีที่มาและสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ภาคเหนือ : ที่มาของสาเหตุฝุ่นควันส่วนมากมาจากไฟป่า หรือการเผาในพื้นที่ป่ามากถึง 60-70% โดยประมาณ อันดับถัดมาจะเป็นการเผาในพื้นที่การเกษตร และตามด้วยควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การจราจร และสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย 
  • ภาคกลางและภาคอีสาน : PM2.5 ที่เกิดขึ้นมักมาจากการเผาในพื้นที่ทางการเกษตรอย่างการเผาเศษพืชผลก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การเผาวัสดุทางการเกษตร หรือการเผาตอซังฟางข้าวเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไปอยู่ที่ราว ๆ 60-70% ในส่วนที่เหลือมีที่มาจากการเผาป่า การเผาที่โล่ง การจราจรและสาเหตุอื่น ๆ  ปะปนกันไป
  • กรุงเทพฯ และปริมณฑล : ส่วนที่มาของฝุ่น PM 2.5 ในเมืองหลวงของไทยตลอดทั้งปีปัญหาส่วนมากมักมาจากการเผาไหม้ของท่อไอเสียและการจราจรด้วยสัดส่วน 60% โดยประมาณ ถัดมาคือการเผาพื้นที่ทางการเกษตรบวกกับสาเหตุอื่น ๆ และปัญหาของหมอกควันที่พัดข้ามแดนหรือทิศทางลมในการนำฝุ่นจากการเผาไหมในพื้นที่อื่นไหลเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นต้นตอของปัญหาฝุ่นควันจากการก่อสร้างและการดำเนินงานในภาคอุตสาหกรรม และกิจกรรมจากมนุษย์ทั้งการสูบบุหรี่ การจุดธูป จุดพลุ เผากระดาษ หรือการประกอบอาหารบางประเภทยังสามารถก่อให้เกิดควันพิษได้อีกด้วย 

นอกจากสาเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้วยังพบว่าปัญหามลพิษทางอากาศหรือฝุ่นควันที่เกิดขึ้นยังพัดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น ลาว พม่า กัมพูชา หรือเวียดนาม ซึ่งพบจำนวนจุดความร้อน (Hot Spot) ในบริเวณประเทศดังกล่าวเป็นจำนวนมากจากการเผาซากพืชผลทางการเกษตร เช่น การปลูกข้าวโพดและไร่อ้อย เป็นต้น

 

สาเหตุที่ฝุ่น PM2.5 ไม่ลดลงและเกิดขึ้นซ้ำทุกปี

ข้อมูลจากทางสำนักข่าวไทยรัฐโดยการสรุปรายงานการวิจัยเรื่องข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 กล่าวไว้ว่าถึงแม้ว่าจะรู้ที่มาของปัญหาฝุ่น PM 2.5 แล้วแต่ก็ไม่ยังสามารถจัดการแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไปได้ เนื่องด้วยการจัดการของรัฐบาลที่ล้มเหลวไม่ว่าจะเป็นแนวทางการจัดการมลพิษทางอากาศแบบภัยพิบัติ ไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในเขตท้องถิ่นไม่มีประสิทธิภาพรวมถึงเกิดอุปสรรคต่อการบริหารจัดการจากกฎระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนการขาดข้อมูลขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของฝุ่น PM 2.5 ภายในพื้นที่ที่เกิดปัญหารวมถึงเขตที่ฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้านพัดไหลเข้ามาอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ยังพบว่าจุดอ่อนในการแก้ไขปัญหา PM2.5 คือพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งภาคครัวเรือนและภาคองค์กร เนื่องจากมีการเผาทางการเกษตรและการเผาป่าเพื่อประโยชน์ส่วนตัวกันเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดต้นทุนในการจัดการพื้นที่ หรือการหาแนวทางลดปัญหาในภาคองค์กรอย่างการเปลี่ยนเครื่องจักรในโรงงานนับเป็นเรื่องยาก เนื่องจากทำให้ต้นทุนสูงขึ้นและผู้ประกอบการมองว่าไม่คุ้มกับต้นทุนที่ต้องเสียไป รวมไปถึงการขาดความรู้หรือการเข้าถึงข้อมูลปัญหาฝุ่นควันและด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้หลายคนไม่ตระหนักถึงปัญหาและปล่อยปละละเลยจนก่อให้เกิดปริมาณมลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นทั้งครัวเรือนและภาคองค์กร

การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยต้องการมาตรการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการออกนโยบายในการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมถึงร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ดังต่อไปนี้

  • ศึกษาและวิจัยเพื่อการกำหนดขอบเขต Airshed หรือการเผาป่าและพื้นที่เกษตรในพื้นที่ที่ทำให้ฝุ่นพัดข้ามแดนไปยังจังหวัดหรือประเทศใกล้เคียงอย่างเร่งด่วน
  • จัดทำแผนปฏิบัติด้านการบริหารจัดการฝุ่นและสร้างความร่วมมือในการป้องกันและลดมลพิษ PM2.5 ในเขตหน่วยงานราชการพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ในโซน Airshed 
  • ส่งเสริมนโยบายในการลดการเผาทางการเกษตรและพื้นที่ป่า โดยการสนับสนุนการใช้เครื่องจักรในการปรับระดับแปลงไร่นาแทนการเผา วิจัยและพัฒนาพืชทดแทน รวมถึงสร้างอาชีพที่หลากหลายให้ชาวเกษตกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
  • ผลักดันและส่งเสริมนโยบายสำหรับภาคอุตสาหกรรมทั้งการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง และอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการสร้างตลาดคาร์บอนภาคบังคับ เรียกเก็บภาษีคาร์บอน และทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ตลอดจนส่งเสริมการใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ไฮโดรเจนเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ

 

ข้อมูลอ้างอิง: 

  • Today. (2566). ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาใหญ่ไทย มาจากไหนบ้าง, https://workpointtoday.com/why-we-have-pm-25-in-thailand/
  • The Standard. (2564). เจาะลึกฝุ่น PM2.5 ด้วยข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ฝุ่นมาจากไหน เรารู้อะไรบ้าง, https://thestandard.co/where-did-pm2-5-come-from/
  • ไทยรัฐ. (2566). ทำไมการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในไทย ถึงยังไม่สำเร็จ, https://www.thairath.co.th/news/society/2664491
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). เรียนรู้อยู่กับฝุ่น PM2.5, https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/chula-pm25-booklet-1.pdf

 

Q&E INTERNATIONAL บริการทดสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ)Q&E INTERNATIONAL บริการทดสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ)

“อากาศ”เป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพและความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัยและใช้งานในอาคาร ดังนั้นคุณภาพอากาศภายในอาคาร หรือ Indoor Air Quality (IAQ) จึงจะต้องอยู่ในมาตรฐานที่กำหนดและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย การตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้นเพื่อวัดปริมาณของฝุ่นละออง อุณหภูมิ ความชื้น และความสะอาดของอากาศที่อยู่ภายในอาคารให้อยู่ในเกณฑ์ที่ตรงตามมาตรฐาน

 

Q&E INTERNATIONAL” ผู้ให้บริการทดสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร : Indoor Air Quality (IAQ

เรารับตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยนำมาประเมินปัญหามลพิษทางอากาศภายในอาคาร เพื่อวางแผนในการควบคุมและปรับปรุงแก้ไขคุณภาพอากาศภายในอาคารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยครอบคลุมการทดสอบทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่

  • การทดสอบสภาวะน่าสบาย (Thermal Comfort Test)
    • การเคลื่อนที่ของอากาศ (Airflow)
    • อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Temperature & Humidity)
  • การทดสอบทางเคมี (Chemical Test)
    • คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) / คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
    • ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
    • สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)
    • ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 / PM10)
  • การทดสอบทางชีวภาพ (Biological Test)
    • เชื้อแบคทีเรีย (Bacterial)
    • เชื้อรา (Mould)

 

ติดต่อเรา Q&E INTERNATIONAL ได้ที่ช่องทาง

Call: 081-595-3011, 095-748-7312

LINE ID: 0815953011

Facebook: บริษัท คิว แอนด์ อี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 

Email: [email protected], [email protected]

 

Share :

ข่าวสารที่น่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า